วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตอบข้อสงสัย ( ให้ตัวเอง )

จากบล็อกก่อนหน้าที่เคยมีข้อสงสัยเจอテイルแล้วไม่เข้าใจ

พอลองทําชิ้นงานชื้นต่อมาๆมันมีแบบที่คล้ายๆกันก็เริ่มเข้าใจขึ้น

นอกจากนั้นยังนึกได้อืกว่าในชีทของอาจารย์อัษฎายุทธเตยมีบอกไว้จึงกลับไปอ่านอีกรอบ

ในชีทยกตัวอย่างประโยคที่เป็น 経験・終了คือ

  1. 彼はがんの新薬を発見している。
  2. 女子「ね」の用法については、野田(2002)は、独自の「行動宣言」、「回想」の用法を挙げている。

อาจารย์อธิบายว่าเป็นลักษณะของงานเขียน

รู้สึกว่าคล้ายๆกับ
  • というより、より広大な、豊潤な<空間>に向けて飛び立ち、漂い出すことを夢見ながら、常に腰につけた<時間>の皮肉な命綱によってその世界を守られ、限られ、狭められているのが、小説なるものの運命なのではあるまいか。

  • 投票が低下しているときは、1表でも重要な役割を勝たすと教えられているから。
  • 求められている

แสดงว่าเป็นเพราะใช้ในงานเขียนและต้องการแสดงว่าผลนั้นยังคงอยู่

ส่วน 4 อันนี้

  • 小説の中で生きて動いているのは日めくりカレンダーや柱時計ではなく、登場人物としての人間たちである。
  • …最小単位の家族を構成していると言える。
  • 人々は自分が努力を使って投票に行く「費用」と投票の結果得られる狭い意にでの「便益」を単純に計算して行動しているのではなさそうである。
  • 投票が低下しているときは、1表でも重要な役割を勝たすと教えられているから。

เปรียบเทียบดูคิดว่าไม่คล้ายกับลักษณะข้างบน ในเมื่อคิดกับตัวเองว่า ไม่น่าจะใช่ 結果の状態、経験・終了、反復、反事実 ก็น่าจะเป็น 動きの最中เนี่ยแหละ กริยาไม่คุ้นว่ามันจะใช้ได้เลยงงๆ

(อ่านชีทอาจารย์อัษฎายุทธรู้สึกเข้าใจมากกว่าตอนเรียนเทอมที่แล้วนะ ตอนนั้นงงมาก > <)

ยังไงก็ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ชีทมีประโยชน์มาก อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ ^^



วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ているแบบที่ไม่ถนัด

ใกล้เวลาส่งงานแล้ว วันนี้เอาชีทเรื่องอ่านต่างๆมาพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์

  • เรื่องแรก 「おーいでてこーい」

เรื่องนี้ได้อ่านในชั่วโมงการอ่าน2 ไหนๆก็เจอているแล้วจึงอยากจะเอามาดูให้เข้าใจจริงๆ

เรื่องนี้น่าสนใจที่ว่าเป็นているที่แปลเป็นภาษาไทยได้แต่ไม่เข้าใจอีกแล้วว่าทําไมต้องใช้ている

จากประโยคที่ว่า 何か、地球の中心まで突き抜けているように深い感じがした。

ใช้突き抜けるได้หรือไม่ ทําไม突き抜けているจึงดีกว่า

ตอนแรกงงๆอยู่ แต่พอกลับไปอ่านบล็อกเก่าๆที่เคยลงข้อมูลเรื่องวิธีการใช้ているไว้

"14-1:継続動詞ที่ไม่ใช่แค่การกระทําของคนเรื่องของธรรมชาติที่กําลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันก็ใช้ている
14-2 :継続動詞ที่แม้จะไม่ได้เห็นการเคลื่อนไหวของการกระทํานั้นก็ใช้ているได้ เช่น 心配する、思う、寝る、休む、黙る、いらいらする"

ก็เลยเข้าใจ ปกติตัวเองเจอ継続動詞ที่แม้จะไม่ได้เห็นการเคลื่อนไหวของการกระทํามักจะงง

ประโยคนี้เข้าลักษณะนี้นั่นเอง

ที่ดีกว่า突き抜けるเพราะแสดงให้เห็นความต่อเนื่องว่าเป็นอย่างนั้นอยู่

อาจจะอธิบายเป็นคําพูดไม่ค่อยดี แต่รู้สึกว่าเข้าใจขึ้น .. ~

  • แบบฝึกหัด จาก 『日本教科書の落とした穴』
กฎที่ผิดบ่อยอีกอย่างก็คือเรื่องている กับ副詞 หรือคำที่แสดงระยะเวลาไม่ได้ และการแยกใช้副詞กับกริยา

長期にわたる動作 เช่น

勤めます、 住む、育てる、飼う จําๆๆๆๆๆๆๆๆๆ !!!!!

พอไปทําแบบฝึกหัดก็เลยผิดข้อแบบนี้ คือ

  1. 姉は毎日大使館に勤めています。ต้องตอบว่า 大使館で働いています เพราะ 勤めますใช้กับ毎日 ไม่ได้
  2. もう一ヶ月引っ越しています。引っ越して一ヶ月になります
  3. 10年間、日本で暮らしています。
  4. 私は20年間この会社に勤めています。

ข้อ 3 กับ 4 ก็ถูกแล้วแต่มันมีการตอบ 2 ข้อได้ด้วย ดันไม่ตอบว่า 暮らして10年になります、この会社に勤めて20年になりますเพราะไม่แน่ใจว่าใช้ได้มั้ย ซึ่งจริงๆคือมันก็ปลอดภัยอยู่แล้วที่จะใช้ฟอร์มนี้

จริงๆแล้วหนังสือเล่มนี้มีแต่แบบฝึกหัดแต่ไม่มีเฉลย

ตอนแรกก็ไม่รู้ทํายังไงดี คิดว่ามันผิดแน่ๆแต่อธิบายไม่ได้

ที่รู้มาได้เป็นเพราะถามแป้ง(เปี่ยมบุญ) แป้งก็เลยช่วยเฉลยและอธิบายๆ

อ่านข้อมูลของเล่มนี้ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

ไปอ่านในบล็อกที่แป้งสรุปไว้ช่วยได้มากๆจริง เข้าใจซะที

ขอบคุณมากๆเลยๆ แป้งのおかげでนะเนี่ย ^^

สรุปแล้วปัญหาก็คือไม่ถนัดแบบている กับ副詞 หรือคำที่แสดงระยะเวลาไม่ได้ , การแยกใช้副詞กับกริยา

長期にわたる動作 และ 継続動詞ที่แม้จะไม่ได้เห็นการเคลื่อนไหวของการกระทํานั้นก็ใช้ているได้




ต้องพยายามไม่ผิดอีก

จาก ポートフォリオー

วันนี้มาศึกษา作品ที่เหลือพบว่า บางครั้งเมื่อเจอการใช้ているจากที่ใดก็ตาม
(ในที่นี้คือข้อสอบอ่านของ能力試験)

แม้จะเข้าใจความหมายแต่ไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องใช้ไวยากรณ์นี้

เช่น

  1. というより、より広大な、豊潤な<空間>に向けて飛び立ち、漂い出すことを夢見ながら、常に腰につけた<時間>の皮肉な命綱によってその世界を守られ、限られ、狭められているのが、小説なるものの運命なのではあるまいか。継続??
  2. 小説の中で生きて動いているのは日めくりカレンダーや柱時計ではなく、登場人物としての人間たちである。継続??
  3. …最小単位の家族を構成していると言える。記録??
  4. 人々は自分が努力を使って投票に行く「費用」と投票の結果得られる狭い意にでの「便益」を単純に計算して行動しているのではなさそうである。結果の状態??
  5. 投票が低下しているときは、1表でも重要な役割を勝たすと教えられているから。
นอกจากนี้ยังพบการใช้ているกับกริยาอื่นๆีที่ยังไม่สามารถจัดเข้าประเภทการใช้ได้คือ

求められている、関係している、判断している

จากตัวอย่างที่ยกมารู้สึกไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นลักษณะไหนกันแน่ระหว่าง แบบ継続ธรรมดาคือ กําลังเป็นอยู่ หรือแบบ経験、経歴、歴史的現在、記録 หรือแบบ結果の状態 เพราะความหมายคือกําลังอยู่ในสภาพนั้นๆ

ทความวิชาการมักจะเจอการใช้ているกับกริยาที่เราไม่คุ้นเคยทําให้ยังสับสนว่าหมายความว่าอย่างไร


แสดงว่าตัวเองก็ยังด้อยอยู่ในเรื่องนี้


และมักจะคิด
เอาเองว่าในบทความวิชาการมักจะมีการใช้ているแบบ経験、経歴、歴史的現在、記録เยอะ









ใช้ているเพราะอะไร อาจารย์และเพื่อนๆช่วยตอบด้วยค่ะ

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

思う ・ 考える

จากหนังสือ 『日本語文法演習時間を表す表現-テンス・アスペクト』 เล่มเดิม

คิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจนะ ได้ใช้ในซะคุบุงบ่อยด้วย เลยจะลองเอาไปใช้ดู (อย่างถูกต้อง)ครั้งหน้าที่เขียน

~と思う
と考える
~と思っている
~と考えている
と思われる
~と考えられる

มากมายยยย..
ใช้ยังไงกันบ้าง !?อยู่ที่ประธาน

  1. ~と思う / ~と考える ประธานคือบุรุษที่ 1  
  2. ~と思っている/~と考えている ประธานคือบุรุษที่ 1 หรือ 3 ก็ได้
  3. ~と思われる / ~と思える/~と考えられる ประธานคือบุรุษที่ 1 ใช้ในรมบุง ถ้าอยากบอกประธานไปให้ชัดๆก็ใช้ว่า 私には
  4. ~と思われている / ~と考えられている ประธานคือคนทั่วๆไป

考えるเป็นทางการกว่า思う

ที่ผ่านมาก็ใช้ไปแบบไม่เข้าใจเท่าไหร่ ได้ซะคุบุงคืนจากอาจารย์แล้วจะลองไปดู !!

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

「ている」練習

อ่านหนังสือเกี่ยวกับているไปพอสมควรแล้ว ช่วงนี้ก็เลยลองมาทําแบบฝึกหัด

เปรียบเทียบการทําแบบฝึกหัดก่อนกับหลังอ่าน

ทําครั้งแรกยังไม่อ่านเนื้อหาแล้วทํา ยังไม่ดูเฉลย จากนั้นไปอ่านเนื้อหาแล้วมาทําอีกรอบ ดูเฉลย เปรียบเทียบกัน

ครั้งแรกผิดค่อนข้างเยอะ พอครั้งที่สองก็ผิดน้อยลง (ยังผิดอยู่บ้าง 55) แต่ที่พอใจก็คือรู้ว่ามันผิดยังไง

จากหนังสือ 『日本語文法演習時間を表す表現-テンス・アスペクト』 ที่เนยใจดีมากให้ยืมมาซีร๊อกซ์

ชอบเล่มนี้มากเพราะมีแบบฝึกหัดเยอะดี

จะลองยกตัวอย่างที่คิดว่าน่าสนใจนะ

ที่คิดว่าผิดแต่จริงๆถูก

  • 私が会社を出るとき、雨が降っていた。หมายความว่า ก่อนที่จะออกจากบริษัท ฝนตกมาตลอด ( 進行中 )
  • お待たせしました。今お湯が沸きましたので、お茶をお入れします。ไม่จําเป็นต้องใช้沸いている ( เป็น出記事の直後の場合 )

ที่คิดว่าถูกแต่ผิด

  • 彼は先週その店で食事をしたことがあります。ต้องแก้เป็น 彼は先週その店で食事をしています/しました。เพราะสัมพันธ์กับปัจจุบัน ( 結果残存 )
  • 食事の準備ができます。みんな待っているので、食堂へどうぞ。ต้องแก้เป็น食事の準備ができています。( 結果残在เหมือนกัน )
  • (落としものを届けたとき)この財布が公園に落ちています。ต้องแก้เป็น 落ちましたเพราะไปเอากระเป่าสตางค์มาแล้ว ไม่ใช่ตอนที่เห็นว่ามันตกอยู่
  • 日本では大みそかにそばを食べている。ใช้食べるก็พอ เพราะ ているที่ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำๆจะให้ความรู้สึกว่า เกิดขึ้นแค่ชั่วคราว
  • この橋は20年前に壊れていた。だから、渡るのが怖い。ต้องใช้壊れている เกิดขึ้นไปแล้วก็จริงแต่เป็น 記録 และยังลิงค์กับปัจจุบัน
  • 私が部屋に着いとき、テレビがついている。ต้องใช้テレビがついていた 

ตัวอย่างที่คิดว่าคงจะงงได้ง่าย

  • 田中さんが部屋に入ると、電気がついた。อันนี้คือ ちょうど
  • 田中さんが部屋に入ると、電気がついていた。ไฟเปิดอยู่ก่อนแล้ว (การที่ไฟเปิดเกิดขึ้นก่อนการที่ทานากะเข้ามาในห้อง)


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

テイル2

เมื่อวานยืม日本語文法セルフ・マスターシリーズ2:する・した・しているของ寺村秀雄、砂川有里子มาอ่าน ตอนแรกก็ลองทําแบบฝึกหัดก่อน เอาแบบที่ยังไม่รู้เรื่องว่าทําได้แค่ไหน แล้วค่อยอ่าน จะมาสรุปเรื่องているเพิ่มเติมคร่าวๆ

14-1:継続動詞ที่ไม่ใช่แค่การกระทําของคนเรื่องของธรรมชาติที่กําลังดำเนินอยู่
ในปัจจุบันก็ใช้ている
14-2 :継続動詞ที่แม้จะไม่ได้เห็นการเคลื่อนไหวของการกระทํานั้นก็ใช้ているได้ เช่น 心配する、思う、寝る、休む、黙る、いらいらする

ข้อสังเกต*
思うกับ思っているความหมายเหมือนกันแต่思っているจะมีความหมายว่าคิดมาก่อนหน้านั้นแล้วด้วย

ลองทําแบบฝึกหัดดูสังเกตว่า
  • ใช้夢中になっているได้ด้วย
  • 暮らすเป็น継続動詞
  • 楽しみにしているที่จํากันมาคือการใช้แบบ14
  • 気をもんでいるเหมือนจะไม่ใช่動作แต่ใช้ている

16 瞬間動詞+ているอาจไม่ได้หมายถึงสภาพอย่างเดียวหมายถึง การตระหนักว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วก็ได้เช่น 雨がやんでいる。授業が始まっている。変ですね。いつもなたとっくに帰っているのにหรือมีความหมายในเชิงเป็นadjective เช่น 年をとっている、空が晴れている

วิธีใช้ที่ต้องจํา

  • 先月から入院している。
  • あの時計、大分遅れているね。
  • 部屋の鍵は引き出しの中に入っているปกติใช้ありますมาตลอด
  • 私は大学で日本語を専攻している。ประโยคต้องใช้บ่อย
  • 「死因は何ですか。」睡眠薬です。ブロバリンを大領にのんでいる。เกิดในอดีตแต่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจุบัน

22 形容詞的動詞+ている จะมีความหมายเหมือนกับเป็น 形容詞 เช่น 角ばる、きわだつ

*似合うกับ似合っている มีความหมายต่างกันเล็กน้อย คือ 似合うหมายถึงเหมาะในทุกสถานการณ์แต่似合っているเน้นว่าคล้ายเฉพาะจุดนั้นเท่านั้น

นอกจากนี้ก็อ่านชีท日本語正しい日本語なのに、なんかちょっとヘン?ているใช้เมื่อเห็นสภาพที่เป็นอยู่เท่านั้นไม่เห็นกระบวนการ แสดงความสุภาพมากกว่ารูปたได้ด้วย เช่น ใช้ファスナーが壊れています。ดีกว่า ファスナーが壊れました。อันนี้คล้ายๆกับตัวอย่างゴキブリ 

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

金田一の動詞分類

อัพเรื่องเดียวกับแป้งแต่อยากอัพ 555

อย่างที่รู้กันว่าเรื่องているเกี่ยวข้องอย่างมากกับ金田一の動詞分類 ตอนที่อ่านๆไปก็อยากรู้ว่าแล้วจะรู้ได้ไงว่ากริยาตัวไหนจัดอยู่ในประเภทอะไรกันแน่จะได้เข้าใจขึ้น ใช้ถูก ก็เลยไปหาดูในอินเตอร์เนท
ก็มีเว็บนึงเค้าเอามาจากหนังสือ「国語動詞の一文類」『言語研究』ของ金田一春彦กับเรื่องアスペクト・テンス体系とテクストของ工藤真由美 ว่าอย่างงี้


金田一の動詞分類จะแบ่งจากการใช้ているว่าใช้ได้หรือไม่ ใช้แล้วมีความหมายอย่างไร คือ
1.状態動詞:ใช้กับているไม่ได้
2.継続動詞:ใช้กับているแล้วหมายความว่ากําลังดําเนินอยู่ กริยาที่มีaction
3.瞬間動詞:ใช้กับているแล้วจะหมายถึงผลที่เหลือจากการกระทํานั้น
4.第四種の動詞:ใช้กับているเสมอ

ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะแยกได้ถูกตามประเภทรึเปล่าเลยลองรวบรวมตัวอย่างเด่นๆในแต่ละกลุ่ม
1.状態動詞:ある、いる、要る、てきる กริยารูปสามารถ
2.継続動詞:読む、書く、降る、吹く
2 กลุ่มนี้คงไม่ค่อยมีปัญหา
3.瞬間動詞:死ぬ、消える、つく、壊れる、割れる、出発する(ตัวนี้ตอนแรกแอบงงตอนทําทาสก์6ว่าทําไมต้องใช้ている)、到着する、忘れる、失う、起きる、落ちる、結婚する
4.第四種の動詞:そびえる、優れる、ばかげる、ずばぬける、ありふれる、おもだつ、 ~形をする、身体的特徴~をするเช่น大きな目をする

ข้อสังเกต
  • มีกริยาบางตัวที่เป็นได้ทั้ง瞬間動詞、継続動詞 เช่น 着る、覚える
  • その定義と「テイル」の意味とがうまくあわない動詞 เช่น 結婚する、たたく、太る
  • กริยาที่การใช้เปลี่ยนไปตามบริบท

- ถึงจะเป็น瞬間動詞+ているบางทีความหมายเป็น継続動詞+ている เช่น

・シャッターはいま閉まっている。→シャッターがゆっくり閉まっている。   

・木の葉が道に落ちている。→木の葉がひらりひらりと落ちている。   

・今はさっきと温度が変わっている。→温度がどんどん変わっている。

ถึงจะเป็น継続動詞 +ているแล้วมีความหมายเป็น瞬間動詞+ているเช่น

・今薬を飲んでいる。 →(胃の検査で)かなり多量の薬を飲んでいますね。  

 ・今使っているから貸せない。 →(彫刻を見て)これはいいノミを使っていますね。  

 ・今公園の中を歩いている。 →(擦りへった靴を見て)かなり歩いていますね。

      -進行กลายเป็น反復による継続
    私は毎日魚を食べている

-完了・結果残存กลายเป็นการหวนระลึก(回想)
   ・今部屋で小説を書いている。 →彼は10年前にこの部屋で小説を書いている。

・今友達が来ている。 →彼は一週間前にもここに来ている。   

・彼は結婚している。 →彼はこれまで2回結婚している。

  • กริยาที่ใส่หรือไม่ใส่ているก็มีความหมายเหมือนกัน เช่น 存在する、実存する、関与する、違う、異なる、適する、 隣接する、似合う


ที่มา
http://korean.nomaki.jp/site_j/kihonb19.html
http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1223536267
http://www.asahi-net.or.jp/~qm4h-iim/k990715.htm
http://oshiete1.goo.ne.jp/qa2542602.html